วิธีการเล่นรูบิคแบบ CFOP #2

เข้าสู่ขั้นตอนแรกของการเล่นรูบิคด้วยวิธีการเล่นแบบ CFOP นั่นก็คือขั้นตอน Cross ซึ่งก็มาจากตัวอักษรตัวแรกของชื่อวิธีการเล่น C ย่อมาจากคำว่า Cross นั่นเอง การ Cross ที่ผมจะสอนต่อไปนี้เป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันได้เลยครับ

ขั้นตอนการ CROSS คืออะไร?

การ Cross ก็อย่างที่เคยได้กล่าวไปแล้วในบทความซีรี่ย์ “วิธีการเล่นรูบิคแบบ Beginner” คือการทำให้ขอบสีขาวล้อมแกนสีขาว แต่ใน CFOP นี้จะต่างจาก Beginner ตรงที่ เราจะทำ Cross พร้อมด้วยสีแกนตรงกับขอบทั้งสี่ ในขั้นตอนเดียว ซึ่งใน Beginner จะต้องเริ่มด้วยการทำขอบขาวล้อมสีเหลือง แล้วจึงจับคู่ขอบสีขาวให้ตรงแกน ก่อนจะเอาลงตำแหน่งในแกนสีขาว ซึ่งใช้เวลาไปมากพอสมควร
ในการ Cross แบบ CFOP นี้ เราจะเริ่มด้วยการทำขอบสีขาวล้อมแกนสีขาวทันที แล้วจึงมาปรับชิ้นขอบให้ตรงกับสีแกนทีหลัง ซึ่งจะช่วยลดเวลาลงมาได้มากเลยล่ะครับ เกริ่นมาตั้งนาน เรามาเข้าสู่ขั้นตอนกันเลยดีกว่าครับ (ให้หันแกนสีขาวขึ้นด้านบนก่อน)

ขั้นตอนการ CROSS

1. ทำขอบสีขาวล้อมแกนสีขาวก่อน ในขั้นตอนนี้ก็เช่นเดียวกับ Beginner คือ ใช้ความรู้ในเรื่องของการจัดวางชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งก็สามารถศึกษาได้จากบทความ “วิธีบิดรูบิคให้ครบหนึ่งหน้า”
white-cross-white
2. หลังจากที่ได้ Cross สีขาวมาแล้ว เราก็จะต้องปรับขอบสีขาวที่ยังอยู่ไม่ตรงกับสีแกน ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยให้เราบิดชั้นบนไปทางซ้ายหรือขวาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ตามกรณีใดต่อไปนี้ ซึ่งมี 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1

ขอบสีขาวอยู่ตรงกับสีแกนติดกัน 2 ด้าน ดังรูป

ให้แก้ดังนี้

กรณีที่ 2

ขอบสีขาวอยู่ตรงกับสีแกน 2 สี ตรงข้ามกัน ดังรูป

ให้แก้ดังนี้

กรณีแถม

กรณีทั้ง 2 ด้านบนนั้น คือกรณีทั้งหมดในการทำ Cross แล้ว แต่ผมมีอีกหนึ่งกรณีแถมให้ รู้ไว้เฉยๆ เผื่อได้ใช้ในบางครั้ง ซึ่งเป็นสูตรแรกที่ผมใช้ทำ Cross ก่อนจะรู้จักกับ 2 สูตรด้านบน (แต่ตอนนี้เลิกใช้ไปแล้ว)
กรณีแถมนี้เป็นกรณีที่ชิ้นขอบสีขาวจะต้องตรงกับสีแกนแค่สีเดียวเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วหากบิดชั้นบนไปทางซ้ายหรือขวาเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็น 1 ใน 2 กรณีก่อนหน้าได้

กรณีนี้ให้แก้ดังนี้ครับ


ใช่แล้วครับ สูตรเดียวกับการทำหน้าสีเหลืองให้เต็มใน Beginner นั่นเอง ให้ทำไปเรื่อยๆจนกว่าขอบสีขาวจะตรงแกนทั้ง 4 ชิ้น ซึ่งทำอย่างมากที่สุดก็ 2 รอบครับ

คำแนะนำส่งท้าย

ผมเคยใช้วิธีในกรณีแถม ก่อนที่จะมาใช้ 2 กรณีแรก ซึ่งผมได้มาจากเพื่อน มันก็ช่วยลดเวลาได้มากเหมือนกันครับ แต่ข้อเสียของมันคือ บางทีเราสับสน ทำไปรอบนึง แล้วเข้าใจว่ามันตรงกันทั้ง 4 ชิ้นแล้ว เลยข้ามไปทำ F2L โดยที่แกนยังไม่ตรงกัน ผมเลยตัดปัญหาใช้ตาม 2 กรณีแรกดีกว่า ซึ่งมันอาจจะเป็นแค่ผมคนเดียวก็ได้ ถ้าเพื่อนๆจะใช้ตามกรณีแถมกรณีเดียวไปเลย ก็ไม่มีปัญหาครับ แล้วเจอกันใหม่ในขั้นตอน F2L ครับ…